1/07/2556

4. ช่างหล่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การทำเบ้าหล่อของช่างหล่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ  

ความรู้ของช่างสิบหมู่เมื่อเปรียบเทียบกับช่างภูมิปัญญาท้องถิ่น ถึงแม้นจะมีเทคนิคเชิงช่างที่เทียบกันไม่ได้  แต่ก็มีอะไรที่คล้ายๆกันให้ได้เรียนรู้ สำหรับท่านที่สนใจในการศึกษา เช่น

การใช้ 
เบ้าประกบ หรือ 
แบบพิมพ์ตีลาย หรือ 
แบบกดลาย หรือ
แบบกรอก

เบ้าประกบแบบกรอก รูปหล่อพญาครุฑ ของช่างสิบหมู่วังหน้า สร้างขึ้ันสมัยรัชกาลที่ 4 ในยุคของพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
เบ้าประกบชนิดใช้กรอกขี้ผึ้ง เพื่อทำหุ่น(เทียน)ต้นแบบ
หมายเหตุ เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ ปัจจุบันอยู่ครอบครองของผู้เขียน(7 มกราคม 2555)

เบ้าประกบแบบกรอก รูปหล่อพระกริ่งปวเรศของวัดบวรนิเวศวิหาร
เบ้าประกบชนิดใช้กรอกขี้ผึ้ง เพื่อทำหุ่น(เทียน)ต้นแบบ พระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร

เทคนิคการทำหุ่นขี้ผึ้ง ในสมัยโบราณมีวิธีการทำ และมีขั้นตอนการทำ ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งหล่อเป็นองค์พระเสร็จ มีกระบวนการอย่างไร? ศึกษาเรียนรู้ได้จากวีดีโอชุดนี้
 

พระชัยวัฒน์หัวไม้ขีด(ช่อ) สร้างสมัยรัชกาลที่ 4  ฝีมือการหล่อขึ้นช่อของช่างสิบหมู่ 
ช่อพระชัยวัฒน์ ฝีมือช่างสิบหมู่ บ่งบอกถึงวิวัฒน์การเชิงช่างที่มีความสามารถและสร้างได้งดงามไร้ที่ติ วันเวลาผ่านมาร้อยกว่าปี  ผู้ที่ศึกษายังไม่ถึงแก่นแท้  รับไม่ได้  เพราะในตำราไม่มีผู้ใดเขียนเอาไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น